การพักการลงโทษ
หมายถึง การปลดปล่อยไปก่อนครบกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลภายใต้เงื่อนไข
คุมประพฤติที่กำหนด การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่
ทางราชการให้แก่นักโทษ เด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางกาศึกษา
ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
คุมประพฤติที่กำหนด การพักการลงโทษมิใช่สิทธิของผู้ต้องขัง แต่เป็นประโยชน์ที่
ทางราชการให้แก่นักโทษ เด็ดขาดที่มีความประพฤติดี มีความก้าวหน้าทางกาศึกษา
ทำงานเกิดผลดีแก่เรือนจำหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ
ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- เป็นนักโทษเด็ดขาด
- ชั้นเยี่ยม เหลือโทษจำาคุกไม่เกิน 1 ใน 3
- ชั้นดีมาก เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 4
- ชั้นดี เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 5
เมื่ออยู่ในเกณฑ์พักการลงโทษแล้ว นักโทษเด็ดขาดจะต้องทำอย่างบ้าง
ภายหลังจากที่เจ้าพนักงานเรือนจำได้ประกาศรายชื่อให้ทราบทั่วกันแล้วว่ามีผู้ใดบ้างอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับการพักการลง
โทษ นักโทษเด็ดขาดจะต้องปฏิบัติดังนี้
โทษ นักโทษเด็ดขาดจะต้องปฏิบัติดังนี้
- เตรียมให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เจ้าพนักงานเรือนจำที่เกี่ยวข้องกับตนเอง พร้อมถิ่นที่อยู่และแจ้งชื่อ ผู้ที่จะรับเป็นผู้อุปการะ
- ทำคำร้องขอคัดสำเนาคำพิพากษาผ่านเรือนจำ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใดหรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วแจ้งให้ญาติไปติดต่อขอคัด
สำเนาพิพากษาจากศาลเพื่อส่งให้เรือนจำโดยตรง - แจ้งให้ญาติไปติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอให้รับรองความประพฤติตามเอกสาร(พ.3 หรือพ. 4 พิเศษ)แล้วนำมามอบให้เรือนจำ
- เมื่อเจ้าพนักงานเรือนจำรวบรวมเอกสารครบถ้วนแล้วจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการเรือนจำ และส่งเรื่องไปยังกรมราชทัณฑ์เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
- เมื่อกรมราชทัณฑ์อนุมัติแล้ว จะแจ้งให้เรือนจำทราบเพื่อทำการปล่อยตัวต่อไป
การลดวันต้องโทษจำคุก
- ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวลดวันต้องโทษจำคุก ต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้
เป็นนักโทษเด็ดขาดที่จำคุกมาแล้ว ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป - สำหรับนักโทษจำคุกตลอดชีวิตต้องจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จึงจะได้รับวันลดโทษสะสม โดยจะลดโทษให้ตามชั้นของนักโทษ คือ
ชั้นเยี่ยม จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 5 วัน
ชั้นดีมาก จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 4 วัน
ชั้นดี จะได้รับวันลดโทษเดือนละ 3 วัน
เรือนจำจะรวมวันลดโทษสะสมของผู้ต้องขังทุกรายไว้ให้ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกรมราชทัณฑ์พิจารณาอนุมัติให้ปล่อยตัวเมื่อมีวัดลดโทษสะสม
เท่ากับโทษที่เหลือ การพิจารณาจะทำทุกเดือนหากไม่ไปกระทำผิดวินัยเสียก่อน
เท่ากับโทษที่เหลือ การพิจารณาจะทำทุกเดือนหากไม่ไปกระทำผิดวินัยเสียก่อน
การได้รับวันลดโทษจำคุกเมื่อออกไปทำงานสาธารณะ
ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวลดโทษจำคุกเมื่อออกไปทำงานสาธารณะนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับอนุญาตให้ออกไปทำงานสาธารณะ
นอกเรือนจำ จะได้รับประโยชน์ลดวันต้องโทษจำคุกให้เท่ากับจำนวนวันที่ออกไปทำงาน คือ ออกไปทำงาน 1 วัน ก็จะได้รับวันลด 1 วัน
ผู้ที่จะได้รับการปล่อยตัวลดโทษจำคุกเมื่อออกไปทำงานสาธารณะนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับอนุญาตให้ออกไปทำงานสาธารณะ
นอกเรือนจำ จะได้รับประโยชน์ลดวันต้องโทษจำคุกให้เท่ากับจำนวนวันที่ออกไปทำงาน คือ ออกไปทำงาน 1 วัน ก็จะได้รับวันลด 1 วัน
คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาออกไปทำงานสาธารณะ
- เป็นนักโทษเด็ดขาดที่เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และไม่เป็นผู้กระทำผิดในคดี ความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ความผิดต่อกฏหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ส่วนความผิดอื่นๆนอกจากที่กล่าวมานี้ ทำงานสาธารณะได้ทั้งนั้น
- จะต้องเหลือโทษจำคุกตามระยะเวลาในแต่ละชั้นของผู้ต้องขัง ดังนี้
- ชั้นเยี่ยม จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
- ชั้นดีมาก จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
- ชั้นดี จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
- ชั้นกลาง จำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2
- การที่นักโทษเด็ดขาดคนใดได้ออกไปทำงานสาธารณะหรือไม่นั้น ต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการคัดเลือกของเรือนจำเสียก่อน
- ความสำคัญของการเลื่อนชั้น
ชั้นมีความสำคัญต่อนักโทษเด็ดขาดเป็นอย่างมากในระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำนักโทษเด็ดขาดจะต้องพยายามประพฤติ
ตนให้ดีขึ้น และไม่กระทำผิดวินัย ในทางกลับกันหากกระทำผิดวินัยจะถูก ลงโทษลดชั้นและถูกตัดประโยชน์ที่ตนพึงจะได้รับ ฉะนั้นจึงให้ผู้ต้องขังทุกคนต้องรักษาชั้นไว้ อย่ากระทำความผิดวินัยของเรือนจำ
ตนให้ดีขึ้น และไม่กระทำผิดวินัย ในทางกลับกันหากกระทำผิดวินัยจะถูก ลงโทษลดชั้นและถูกตัดประโยชน์ที่ตนพึงจะได้รับ ฉะนั้นจึงให้ผู้ต้องขังทุกคนต้องรักษาชั้นไว้ อย่ากระทำความผิดวินัยของเรือนจำ
ระหว่างการคุมประพฤติจะต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ช่วงระหว่างการคุมประพฤติ จะมีเจ้าพนักงานคุมประพฤติหรืออาสาสมัครคุมประพฤติไปเยี่ยม ที่บ้านของผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ ดูแลช่วยเหลือสงเคราะห์เมื่อมีปัญหา โดยที่ผู้ถูกคุมปรพฤติจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อ ตามที่กำหนดไว้หากว่าประพฤติผิดเงื่อนไข จะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิมและจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย
เงื่อนไข 8 ข้อ มีดังนี้
1. จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ตามที่ได้แจ้งไว้กับทางเรือนจำ
2. ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก
4. ประกอบอาชีพโดยสุจริต
5. ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา
6. ห้ามพกพาอาวุธ
7. ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไไม่ใช่ญาติ
8. ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
ถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์และพ้นโทษไปตามคำพิพากษาเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป
นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก จะต้องนำเอกสารมาประกอบการพิจารณาสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนปล่อยตัว ดังนี้
1. สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อนักโทษเด็ดขาดพักอาศัย
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้อุปการะที่นักโทษเด็ดขาดประสงค์จะไปพักอาศัย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนักโทษเด็ดขาด หรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อุปการะหรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆที่ทางราชการออกให้
กรณีนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่มีผู้อุปการะ และที่อยู่ที่แน่นอน เรือนจำจะดำเนินการประสานงานกับประชาสงเคราะห์จังหวัด องค์กรกุศล
ของภาครัฐและภาคเอกชน วัด และมูลนิธิ ต่างๆในท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือในด้านที่พักและการประกอบอาชีพ
ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษ และจากการออกทำงานสาธารณะ เป็นการให้โอกาศใช้ชีวิตอยู่นอกเรือนจำก่อนที่ี
จะครบตามกำหนดโทษตามคำพิพากษา ดังนั้น นักโทษเด็ดขาดจะต้องมีผู้อุปการะและมีที่อยู่แน่นอน มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการปล่อยตัว
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้อุปการะที่นักโทษเด็ดขาดประสงค์จะไปพักอาศัย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนักโทษเด็ดขาด หรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้อุปการะหรือสำเนาเอกสารหลักฐานอื่นๆที่ทางราชการออกให้
กรณีนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่มีผู้อุปการะ และที่อยู่ที่แน่นอน เรือนจำจะดำเนินการประสานงานกับประชาสงเคราะห์จังหวัด องค์กรกุศล
ของภาครัฐและภาคเอกชน วัด และมูลนิธิ ต่างๆในท้องถิ่น ให้ความช่วยเหลือในด้านที่พักและการประกอบอาชีพ
ผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ ลดวันต้องโทษ และจากการออกทำงานสาธารณะ เป็นการให้โอกาศใช้ชีวิตอยู่นอกเรือนจำก่อนที่ี
จะครบตามกำหนดโทษตามคำพิพากษา ดังนั้น นักโทษเด็ดขาดจะต้องมีผู้อุปการะและมีที่อยู่แน่นอน มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการปล่อยตัว